fbpx
ประกัน covid

ประกันภัยไวรัสโคโรนา (COVID-19)โดยเมืองไทยประกันภัย

หน้าแรกประกันสุขภาพประกันภัยไวรัสโคโรนา (COVID-19)โดยเมืองไทยประกันภัย

ประกันภัยไวรัสโคโรนา (COVID-19) ปิดการขาย

รายละเอียดแบบประกัน 900 -1200

ผู้เอาประกันภัยอายุระหว่าง 1 ปี – 80 ปี (ปี พ.ศ. ปัจจุบัน ลบด้วยปี พ.ศ. เกิด)

ความคุ้มครอง (ระยะเวลาคุ้มครองะยะเวลาคุ้มครอง 1ปี )วงเงินคุ้มครอง (บาท)วงเงินคุ้มครอง (บาท)
แผน 1แผน 2
ภาวะโคม่า (Coma) จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)1,500,0002,000,000
ค่ารักษาพยาบาลจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (จ่ายตามจริง)70,000100,000
เงินชดเชยรายได้จากการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)1,000/วัน
สูงสุด 15,000
2,000/วัน
สูงสุด 30,000
ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน กรณีแพ้จากการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (จ่ายตามจริง)50,00050,000
เบี้ยประกันภัยรวมอากรและภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว9001,200

ประกันภัยไวรัสโคโรน่า 2019 แผน 1 Stop 450-480 ปิดการขาย

ผู้เอาประกันภัยอายุระหว่าง 1 ปี – 80 ปี (ปี พ.ศ. ปัจจุบัน ลบด้วยปี พ.ศ. เกิด)

ความคุ้มครองจำนวนเงินเอาประกันภัย(บาท)จำนวนเงินเอาประกันภัย(บาท)
หมวดความคุ้มครอง – สำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ภาวะโคม่า (Coma) จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)500,000500,000
ค่ารักษาพยาบาลจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (จ่ายตามจริง)50,00050,000
หมวดความคุ้มครอง – สำหรับกรณีได้รับผลกระทบ (แพ้) จากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ภาวะโคม่า (Coma) กรณีได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)300,000
ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD) กรณีได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (แบบจ่ายตามจริง) ต่อปี
ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD) หรือ ผู้ป่วยนอก (OPD) กรณีได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (แบบจ่ายตามจริง) ต่อปี50,00050,000
เงินชดเชยรายวันจากการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในกรณีได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (สูงสุด 60 วันต่อปี)500
เบี้ยประกันภัยรวมอากรต่อคน450480

ประกันภัย แพ้วัคซีนโควิด-19

ผู้มีอายุแรกเกิด – 99 ปี (การคำนวณอายุ = ปีที่ทำประกันภัย ลบด้วยปีเกิด)

ความคุ้มครอง (ระยะเวลาคุ้มครอง 1ปี )แผนค่ารักษาพยาบาลแผนค่ารักษาพยาบาลแผน แพ้ จ่าย จริงแผน แพ้ จ่าย จริง
วงเงินคุ้มครอง (บาท)วงเงินคุ้มครอง (บาท)วงเงินคุ้มครอง (บาท)วงเงินคุ้มครอง (บาท)วงเงินคุ้มครอง (บาท)
แผน 1แผน 2แผน 3แผน 4
1. ผลประโยชน์ภาวะโคม่า (Coma) กรณีได้รับผลกระทบจาก การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)250,0001,500,000500,0001,000,000
2. ผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลกรณีได้รับผลกระทบจากการ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (IPD & OPD)5,00030,000
3. ผลประโยชน์กรณีได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (แพ้ จ่าย จริง)3,0005,000
4. ผลประโยชน์เงินชดเชยรายวันจากการเข้าพักรักษาตัวเป็น ผู้ป่วยในกรณีได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (สูงสุดไม่เกิน 15 วัน)1,0005001,000
เบี้บประกัน99699199399
  1. ผู้เอาประกันภัยอายุระหว่าง 1 ปี – 80 ปี (ปี พ.ศ. ปัจจุบัน ลบด้วยปี พ.ศ. เกิด)
  2. กรมธรรม์ประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (รวมถึงภาวะแทรกซ้อน) ก่อนการเอาประกันภัยและยังมิได้รักษาให้หายขาด
  3. ระยะเวลารอคอยจากการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 14 วัน นับจากวันที่กรมธรรม์ประกันภัยนี้มีผลบังคับเป็นครั้งแรก
  4. จำกัดการซื้อ 1 คน ต่อ 1 กรมธรรม์ประกันภัย สำหรับทุกแผนประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  5. สำหรับอาชีพนักบิน พนักงานบนเครื่องบิน พนักงานท่าอากาศยาน พนักงานบนเรือ บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล สามารถซื้อได้เฉพาะแผน 1 เท่านั้น
  6. รับประกันภัยเฉพาะคนไทย สัญชาติไทยเท่านั้น และพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย
  7. การเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่า เป็นการเจ็บป่วยรุนแรงที่แพทย์ลงความเห็นว่าไม่มีวิธีการรักษาให้หายได้ และ/หรือ เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตโดยมีสาเหตุหลักมาจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  8. ผลประโยชน์และความคุ้มครองเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  9. สามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีได้

ภาวะโคม่า* หมายถึง ภาวะอาศัยเครื่องช่วยหายใจและไม่ตอบสนองอย่างน้อย 96 ชั่วโมง และสมองถูกทำลายถาวรเกิน 30 วัน คำเตือน: ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจ
ผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในกรณีแพ้จากการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จะคุ้มครองภายใน 90 วัน นับจากวันที่ฉีควัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เข็มแรก
ผู้ป่วยใน หมายถึง ผู้ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลเวชกรรมติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งต้องลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยใน โดยได้รับการวินิจฉัยและคำแนะนำจากแพทย์ตามข้อบ่งชี้ ซึ่งเป็นมาตรฐานทางการแพทย์ ในระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการรักษาการบาดเจ็บ และให้รวมถึงกรณีรับตัวไว้เป็นผู้ป่วยในแล้วต่อมาเสียชีวิตก่อนครบ 6 ชั่วโมง
แพ้จากการฉีดวัคซีน หมายถึง อาการความผิดปกติของร่างกายทั้งภายในหรือภายนอกร่างกายเมื่อได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั้งนี้ ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์อย่างชัดเจนและแพทย์ ลงความเห็นว่าการแพ้มาจากการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ความคุ้มครอง
ในระหว่างที่กรมธรรม์ประกันภัยนี้มีผลบังคับ หากผู้เอาประกันภัยได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยแพทย์หรือพยาบาลภายในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเวชกรรมหรือคลินิก และแพ้จากการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)นั้น จนเป็นเหตุให้ต้องเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเวชกรรมตามความจำเป็นทางการแพทย์และมาตรฐานทางการแพทย์ บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควรซึ่งเกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลตามความจำเป็นทางการแพทย์และมาตรฐานทางการแพทย์ให้ตามจำนวนที่จ่ายจริง ทั้งนี้ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุในตารางกรมธรรม์ประกันภัย แต่หากผู้เอาประกันภัยได้รับการชดใช้จากสวัสดิการของรัฐ หรือสวัสดิการอื่นใด หรือจากการประกันภัยอื่นมาแล้ว บริษัทจะรับผิดชอบเพียงจำนวนค่ารักษาพยาบาล และค่าการพยาบาลส่วนที่ขาดเท่านั้น หากบริษัทจ่ายเงินผลประโยชน์นี้ครบถ้วนตามจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย ให้ถือว่าความคุ้มครองตามข้อตกลงคุ้มครองนี้สิ้นสุดลงทันที

* เงื่อนไขความคุ้มครอง

  1. ผู้เอาประกันภัยอายุระหว่าง 1 ปี – 80 ปี (ปี พ.ศ. ปัจจุบัน ลบด้วยปี พ.ศ. เกิด)
  2. ผู้เอาประกันต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งพิการหรือทุพพลภาพ และไม่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง โรคร้ายแรง ไม่เป็นผู้วิกลจริต ไม่มีอาการ หรือโรคที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะทางจิต โรคพิษสุราเรื้อรัง และไม่เป็นผู้ติดสารเสพติด
  3. กรมธรรม์ประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (รวมถึงภาวะแทรกซ้อน) ก่อนการเอาประกันภัยและยังมิได้รักษาให้หายขาด
  4. ระยะเวลารอคอยจากการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 14 วัน นับจากวันที่กรมธรรม์ประกันภัยนี้มีผลบังคับเป็นครั้งแรก
  5. จำกัดการซื้อ 1 คน ต่อ 1 กรมธรรม์ประกันภัย สำหรับทุกแผนประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 แผน One Stop
  6. รับประกันภัยเฉพาะคนไทย สัญชาติไทยเท่านั้น และพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย
  7. ไม่รับประกันภัยบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล
  8. การเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่า เป็นการเจ็บป่วยรุนแรงที่แพทย์ลงความเห็นว่าไม่มีวิธีการรักษาให้หายได้ และ/หรือ เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตโดยมีสาเหตุหลักมาจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  9. จำกัดเฉพาะวัคซีน COVID-19 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนของสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และได้รับการฉีดวัคซีนโดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเวชกรรมในประเทศไทยเท่านั้น
  10. ผู้ที่ไม่เคยมีประวัติการแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง รวมถึงการแพ้วัคซีน COVID-19
  11. ผลประโยชน์และความคุ้มครองเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ข้อยกเว้นสำคัญ

การประกันภัยตามความคุ้มครองนี้ ไม่คุ้มครองการจ่ายผลประโยชน์ใดๆ อันเกิดจากสาเหตุโดยตรง หรือโดยอ้อม จากการฉีดวัคซีนที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ภาวะโคม่า* ภาวะอาศัยเครื่องช่วยหายใจ และไม่ตอบสนองอย่างน้อย 96 ชั่วโมง และสมองถูกทำลายถาวรเกิน 30 วัน ผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก กรณีได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คุ้มครองภายใน 90 วัน นับจากวันที่ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เข็มแรก

คำเตือน : ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจ

หมายเหตุ : รายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย

  1. ผู้มีอายุแรกเกิด – 99 ปี (การคำนวณอายุ = ปีที่ทำประกันภัย ลบด้วยปีเกิด)
  2. ผู้ที่มีสัญชาติไทย คนต่างด้าว และชาวต่างชาติ ที่มีภูมิลำเนาและพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นหลัก (ไม่น้อยกว่า 9 เดือน)
  3. ไม่จำกัดอาชีพ
  4. ให้สิทธิ์การซื้อ ท่านละ 1 กรมธรรม์
  5. จำกัดเฉพาะวัคซีน COVID-19 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนของสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และได้รับการฉีดวัคซีนโดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเวชกรรมในประเทศไทยเท่านั้น
  6. ผู้ที่ไม่เคยมีประวัติการแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง รวมถึงการแพ้วัคซีน COVID-19
  7. ผู้เอาประกันภัยต้องทำประกันภัยล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน ก่อนการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

คุ้มครองกรณีได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภายใน 90 วันนับจากวันที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ข้อยกเว้นสำคัญ :
การประกันภัยตามความคุ้มครองนี้ ไม่คุ้มครองการจ่ายผลประโยชน์ใดๆ อันเกิดจากสาเหตุโดยตรง หรือโดยอ้อม จากการฉีดวัคซีนที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

*กรณีซื้อประกันหลังการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เข็มแรกนั้น บริษัทไม่ได้ให้การคุ้มครองผลกระทบ (แพ้) จากการฉีดวัคซีนฯ เข็มแรก แต่เพื่อคุ้มครองผลกระทบ (แพ้) จากการฉีดวัคซีนฯ ในเข็มต่อไปเท่านั้น
คำเตือน : ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจ

หมายเหตุ : รายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย

รายละเอียดในการสมัคร

  1. ชื่อ – นามสกุล
  2. เลขบัตรประชาชน
  3. ที่อยู่
  4. เพศ
  5. เบอร์โทร
  6. email ถ้ามี
  7. แผนที่เลือก ( 300,450,480,900 , 1200 )
    ผู้รับผลประโยชน์
  8. ชื่อ นามสกุล
  9. เพศ
  10. อายุ
  11. ความสัมพันธ์ ( บิดา,มารดา,บุตร,คู่สมรส,พี่น้อง,ลุง,ป้า,น้า,อา,ปู่,ย่า,ตา,ยาย )

    หมายเหตุ ถ้าส่งหน้าบัตรประชาชน ไม่ต้อง แจ้ง 1- 4

แอดไลน์เพื่อซื้อประกัน

1 รับทุกอาชีพหรือไม่?

สำหรับอาชีพนักบิน พนักงานบนเครื่องบิน พนักงานท่าอากาศยาน พนักงานบนเรือ บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล สามารถซื้อได้เฉพาะแผน 1 เท่านั้น

2 มีประกัน COVID-19 อยู่แล้วกับทางบริษัทประกันภัยอื่นสามารถซื้ออีกฉบับกับทางบริษัท เมืองไทยประกันภัยได้หรือไม่?

ซื้อประกันภัยโรด COVID-19 กับบริษัทฯ ได้ แต่จำกัดการซื้อประทันภัย COVID-19 กับบริษัทเมืองไทยประกันภัย 1 คน ต่อ 1 กรมธรรม์ประกันภัย

3 กรณีเป็นโรค COVID-19 คุ้มครองเฉพาะขณะอยู่ในประเทศไทย หรือขณะอยู่ต่างประเทศด้วย?

คุ้มครองทั่วโลก

4 ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นคนไทยและสัญชาติไทย แต่หากผู้เอาประกันภัยอยู่ต่างประทศสามารถซื้อประกันได้หรือไม่?

ซื้อประกันภัยไม่ได้ เนื่องจากคุ้มครองเฉพาะบุคคลที่มีสัญชาติไทย และอาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น

5 ภาวะโคม่า ต้องเป็นลักษณะอย่างไร ?

การเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่า มีองค์ประกอบ 3 อย่างทั้งหมด คือ

  1. ต้องอาศัยเครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา
  2. สมองถูกทำลายถาวร
  3. ไม่ตอบสนองอย่างน้อย 96 ชั่วโมง เนื่องจากการวินิจฉัยของแพทย์ว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีไม่ตอบสนองน้อยกว่า 96 ชั่วโมง กรมธรรมให้ความคุ้มครองเช่นกัน

6 หากไม่ได้อยู่ในภาวะโคม่า แต่เสียชีวิตจากโรค Covid19 กะทันหันสามารถเคลมได้หรือไม่?

ได้รับความคุ้มครองภายใต้หมวดความคุ้มครองภาวะโคม่าจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยต้องมีเอกสารทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ระบุการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

7 มีโรคประจำตัวอยู่แล้วทำได้หรือไม่? เช่น เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ ลมชัก ไทรอยด์ หอบหืด ภูมิแพ้

ผู้เอาประกันต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งพิการหรือทุพพลภาพ และไม่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง โรคร้ายแรง ไม่เป็นผู้วิกลจริต ไม่มีอาการ หรือโรคที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะทางจิต โรคพิษสุราเรื้อรัง และไม่เป็นผู้ติดสารเสพติด โดยโรคประจำตัวเรื้อรัง โรคร้ายแรง ได้แก่
1. โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease)
2. โรคหัวใจ (Heart Disease)
3. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
4. โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
5. โรคมะเร็ง (Cancer)
6. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
7. โรควัณโรคปอด (TB Lung)
8. โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic Renal Failure)
9. โรคตับแข็ง (Cirrhosis)
10. โรคตับวาย (Liver Failure)

8 พิการ เช่น แขนขาด ตาบอด สามารถทำประกันได้หรือไม่?

ไม่สามารถทำประกันภัยได้

9 ภาวะแทรกซ้อนหมายถึงอะไร?

โรคหรือการเจ็บป่วยใดๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการการวินิจฉัยของแพทย์ ว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

10 หากพบว่าติดเชื้อ COVID 19 และเคลมหมวดค่ารักษาพยาบาลไปแล้วและรักษาหายแล้ว หลังจากนั้นพบว่าติดเชื้อใหม่ สามารถเคลมในหมวดความคุ้มครองที่เหลือได้หรือไม่?

หากพบว่าติดเชื้อหลังจากครั้งแรกที่รักษาหายแล้วสามารถเคลม ในหมวดความคุ้มครองที่หลือได้ ตามวงเงินค่ารักษาพยาบาลที่คงเหลือ และจำนวนวันชดเชยรายได้ที่คงเหลือรวมถึงหมวดโคม่า

11 เคยเป็น Covid-19 แล้วรักษาหายขาดไปแล้วและจะมาทำประกัน Covid19 ของบริษัทฯได้หรือไม่? และมีระยะรอคอยกี่วันหรือไม่กว่าจะทำประกันได้

สามารถทำได้ แต่ผู้เอาประกันภัยต้องหายขาดจากโรค COVID-19 รวมทั้งหายขาดจากโรคหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรด COVID-19 แล้วเท่านั้น โดยมีระยะรอคอย 14 วัน

12 จะได้รับกรมธรรมภายในกี่วัน มีบัตรประกันภัยหรือไม่ ?

หากซื้อประกันภัยผ่านช่องทางออนไลน์ จะเป็นการส่งลิงค์กรมธรรม์ประกันภัย (e-Policy)ไม่มีบัตรประกันภัย (ลูกค้าสามารถ Download App. Muang Thai Friends ได้) หากเกิดเคลมผู้เอาประกันต้องสำรองจ่ายก่อน

  • บัตรเครดิต ระบบส่ง SMS กรมธรรม์ความคุ้มครองใน 14 วันทำการ
  • QR Code ต้องกด approve ระบบส่ง SMS กรมธรรม์ความคุ้มครองใน 14 วันทำการ
  • โอนเงิน ต้องกด approve ระบบส่ง SMS กรมธรรม์ความคุ้มครองใน 14 วันทำการ

13 สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้หรือไม่?

แผนที่มีค่ารักษาพยาบาล จะมาสามารถนำเบี้ยส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลไปลดหย่อนภาษีได้

14 เอกสารในการเคลมภาวะโคม่ามีอะไรบ้าง?

  • แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน กรอกข้อมูลถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
  • สำเนาบัตรประชาชน หรือใบขับขี่ หรือบัตรข้าราชการ
  • ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง หรือฉบับสำเนา (รับรองสำเนาโดยโรงพยาบาล)
  • ประวัติการรักษาทั้งหมด และผลตรวจแสดงเป็น COVID-19
  • สำเนาบัตรประชาชน/ หนังสือเดินทาง ทะบียนบ้านของผู้รับประโยชน์
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล ของผู้อาประกันภัย และผู้รับประโยชน์ (ถ้ามี)
  • สำเนาสมุดบัญชีธนาคารเพื่อรับค่าทดแทนที่ได้รับความคุ้มครอง

15 เอกสารในการเบิกค่ารักษาพยาบาลมีอะไรบ้าง?

  1. แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน กรอกข้อมูลถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ 
  2. สำเนาบัตรประชาชน หรือใบขับขี่ หรือบัตรข้าราชการ
  3. ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง และรายการค่าใช้จ่าย หากเบิกค่ารักษาจากที่อื่นก่อนและยังมีส่วนที่ขาดอยู่ส่งสำเนาใบเสร็จและรายการค่าใช้จ่ายที่มีการลงนามรับรองยอดเงินที่จ่ายแล้วของหน่วยงานนั้น
  4. ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง หรือฉบับสำเนา (รับรองสำเนาโดยโรงพยาบาล)
  5. ประวัติการรักษาทั้งหมด และผลตรวจแสดงเป็น COVID-19
  6. ลำเนาสมุดบัญชีธนาคารเพื่อรับค่าทดแทนที่ได้รับความคุ้มครอง

16 เอกสารในการเบิกเงินชดเชยรายได้ (Admit) มีอะไรบ้าง?

  1. แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน กรอกข้อมูลถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
  2. สำเนาบัตรประชาชน หรือใบขับขี่ หรือบัตรข้าราชการ
  3. สำเนาใบเสร็จรับเงิน และรายการค่าใช้จ่าย
  4. ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง หรือฉบับสำเนา (รับรองสำเนาโดยโรงพยาบาล)
  5. ประวัติการรักษาทั้งหมด และผลตรวจแสดงเป็น COVID-19
  6. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารเพื่อรับค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับความคุ้มครอง

17 ผู้รับประโยชน์เป็นใครได้บ้าง?

ตามที่ผู้เอาประกันภัยระบุ โดยไม่จำกัดความสัมพันธ์

18 ระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 14 วัน นับอย่างไร?

นับจากวันที่กรมธรรม์ประกันภัยเริ่มมีผลบังคับเป็นครั้งแรก (นับวันเวลาชนวันเวลา) ตัวอย่าง ความคุ้มครองเริ่มวันที่ 12/3/2563 เวลา 22.00 น. ระยะเวลารอคอย คือ วันที่ 12/3/2563 เวลา 22.00 น. ถึง วันที่ 13/3/2563 เวลา 22.00 น. จะนับเป็น 1 วัน ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 12/3/2563 เวลา 22.00 น. ถึง วันที่ 26/3/2563 เวลา 22.00 น. เป็นระยะเวลาที่บริษัทไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทน หากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรค COVID-19 ตั้งแต่วันที่ 26/3/2563 เวลา 22.01 น. เป็นตันไป จึงจะเริ่มจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความคุ้มครองได้

19 ถ้าได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น COVID-19 ภายในระยะเวลารอคอย 14 (waiting period) จะเคลมได้ไหม?

หากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็น COVID-19 ในระยะเวลารอคอยจะไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ เนื่องจากเข้าข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้

20 ถ้าไม่ได้รับความคุ้มครอง COVID-19 เนื่องจากเข้าข้อยกเว้น ระยะเวลารอคอย (waiting period) สามารถขอยกเลิกกรมธรรม์ได้หรือไม่?

หากผู้เอาประกันภัยประสงค์ยกเลิกกรมธรรม์สามารถบอกเลิกได้ โดยคืนเบี้ยประกันภัยเต็มจำนวน

21 กรณีการเสียชีวิตจากโรค COVID-19 บริษัทประกันภัยจ่ายให้ใคร?

บริษัทจะจ่ายให้แก่ผู้รับประโยชน์

22 กรณีการเสียชีวิตจากภาวะโคม่าด้วยโรค COVID-19 บริษัทประกันภัยจ่ายให้ใคร?

บริษัทจะจ่ายให้แก่ผู้รับประโยชน์

23 กรณีภาวะโคม่าด้วยโรค COVID-19 บริษัทประกันภัยจ่ายให้ใคร?

จ่ายผู้เอาประกันภัย หรือ ผู้รับประโยชน์

24 ค่าทดแทนชดเชยรายได้กรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาลด้วยโรคด้วย COVID-19 บริษัทประกันภัยจ่ายให้ใคร?

จ่ายผู้เอาประกันภัย หรือ ผู้รับประโยชน์

25 ค่ารักษาพยาบาลด้วยโรค COVID-19 บริษัทประกันภัยจ่ายให้ใคร ?

จ่ายผู้อาประกันภัย หรือ ผู้รับประโยชน์

26 ค่าชดเชยรายได้กรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาลเริ่มคุ้มครองอย่างไร ?

เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าป่วยเป็น COVID-19 และต้องรับการรักษาตัวเป็น ผู้ป่วยในของโรงพยาบาล จะนับตั้งแต่วันแรกที่นอนโรงพยาบาลเนื่องจาก ผลการวินิจฉัยโรค COVD-19 เช่น กรมธรรม์คุ้มครองวันที่ 12/3/2563เวลา 13.30 น. เข้ารักษาเป็นผู้ป่วยในของโงพยาบาลเนื่องจากมีไข้ เจ็บคอ ไอ ในวันที่ 19-26/3/2563 ผลวินิจฉัยโรคเป็น COVID-19 ออกเมื่อวันที่ 26/3/2563 แต่ออกก่อนเวลา 13.30 น. จะไม่คุ้มครอง เนื่องจากยังอยู่ในระยะเวลารอคอย 14 วัน แต่ถ้าผลตรวจวินิจฉัยของแพทย์ออกวันที่ 26/3/2563 เวลา 13.31 น. (ผ่านระยะเวลารอคอย 14 นับจากวันที่กรมธรรม์เริ่มมีผลบังคับครั้งแรก) เป็นตันไป ถ้าแพทย์ให้นอนรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลถึงวันที่ 30/3/2563 และให้กลับบ้านได้ในวันที่ 31/3/2563 บริษัทจ่ายค่าชดเชย 5 วัน โดยจะนับวันที่ 26/3/2563 เป็นวันแรก และไม่นับวันสุดท้ายที่ออกจากโรงพยาบาล

27 ค่ารักษาพยาบาลโรค COVID-19 รวมค่ารักษาโรคหรือ ภาวะแทรกซ้อนอันเนื่องจาก COVID-19 หรือไม่?

บริษัทจ่ายค่ารักษารวมค่ารักษาของโรคหรือภาวะแทรกซ้อนด้วย โดยที่แพทย์ให้ความเห็นว่าโรคอื่นหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น ปอดอักเสบ ปอดบวม หลอดลมอักเสบ หรือไตวาย เป็นต้น

28 ค่ารักษาพยาบาลโรค COVID-19 รวมค่ารักษาโรคประจำตัว หรือโรคร้ายแรงอื่นด้วยหรือไม่?

ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคประจำตัว หรือโรคร้ายแรง หรือโรคอื่นๆ และโรคที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย

29 แพทย์วินิจฉัยโรคเป็นอย่างอื่น เช่น ปอดอักเสบ ปอดปวม เป็นต้น แต่มีผลตรวจเชื้อโคโรนาไวรัส (2019) เป็น Detectable (positive) คุ้มครองหรือไม่?

บริษัทจะพิจารณาเอกสารทางการแพทย์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เช่น การวินิจฉัยของแพทย์ ประวัติการรักษา รายการยาที่ใช้ในการรักษา ผลตรวจเชื้อโคโรนาไวรัส (2019) เป็น Detectable (positive)

30 ระยะเวลาชดใช้ ค่าทดแทน กี่วัน?

จ่ายค่าสินไหมภายใน 10 วันทำการหลังจากได้รับเอกสารและข้อมูลครบถ้วน

31 แพ้จากการฉีดวัคซีน COVID 19 คุ้มครองอย่างไร

ผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในกรณีแพ้จากการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จะคุ้มครองภายใน 90 วัน นับจากวันที่ฉีควัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

01 รับประกันทุกอาชีพหรือไม่?

ไม่รับประกันอาชีพบุคลาการทางการแพทย์และพยาบาล

02 ค่ารักษาพยาบาลโรค COVID-19 รวมค่ารักษาโรคหรือ ภาวะแทรกซ้อนอันเนื่องจาก COVID-19 หรือไม่?

คุ้มครองค่ารักษารวมโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอันเนื่องจาก COVID-19

03 ค่ารักษาพยาบาลโรค COVID-19 รวมค่ารักษาโรคประจำตัว หรือโรคร้ายแรงอื่นด้วยหรือไม่?

ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคประจำตัว หรือโรคร้ายแรง หรือโรคอื่นๆ

04 จากคำถามข้อนี้ (3) กรณีที่ลค. ไปตรวจหาเชื้อ แล้วผลเป็น + จะสามารถเบิกค่าตรวจได้ในหมวดนี้ได้ด้วยหรือไม่

ได้ครับโดย ผอป.ต้องมีการจ่าย คชจ.ดังกล่าวจริง และนำใบเสร็จรับเงินต้นฉบับพร้อมเอกสารอื่นๆที่บริษัทฯ ร้องขอเพื่อยื่นเรียกร้องค่าทดแทน

05 แพทย์วินิจฉัยโรคเป็นอย่างอื่น เช่น ปอดอักเสบ ปอดบวม เป็นต้น แต่มีผลตรวจเชื้อโคโรนาไวรัส (2019) เป็น Detectable (positive) คุ้มครองหรือไม่?

บริษัทฯ จะพิจารณาเอกสารทางการแพทย์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เช่น การวินิจฉัยของแพทย์ ประวัติการรักษา รายการยาที่ใช้ในการรักษา ผลตรวจเชื้อโคโรน่าไวรัส (2019) เป็น Detectable (positive) หากมีความสัมพันธ์กับการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะได้รับความคุ้มครองตามผลประโยชน์ที่ซื้อไว้

06 ระยะเวลาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนค่ารักษาพยาบาลโรค COVID-19 ใช้เวลากี่วัน?

บริษัทฯ จะจ่ายค่าสินไหมภายใน 10 วันทำการ หลังจากได้รับเอกสารและข้อมูลครบถ้วน

07 หากพบว่าติดเชื้อ COVID 19 และเคลมหมวด เจอ จ่าย จริง ไปแล้วและรักษาหายแล้ว หลังจากนั้นพบว่าติดเชื้อใหม่ สามารถเคลมในหมวดความคุ้มครองที่เหลือได้หรือไม่?

หากพบว่าติดเชื้อหลังจากครั้งแรกที่รักษาหายแล้ว สามารถเคลมในหมวดความคุ้มครองที่เหลือได้

08เอกสารในการเบิกเงินชดเชยรายได้ (Admit) กรณีเจ็บป่วยจาก COVID 19 มีอะไรบ้าง?

• แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน กรอกข้อมูลถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์

• สำเนาบัตรประชาชน หรือใบขับขี่ หรือบัตรข้าราชการ

• สำเนาใบเสร็จรับเงิน และรายการค่าใช้จ่าย

• ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง หรือฉบับสำเนา (รับรองสำเนาโดยโรงพยาบาล)

• ประวัติการรักษาทั้งหมด และผลตรวจแสดงเป็น COVID-19

• สำเนาสมุดบัญชีธนาคารเพื่อรับค่าทดแทนที่ได้รับความคุ้มครอง

• อืนๆ เพิ่มเติมตามความจำเป็น

09 ผู้รับประโยชน์เป็นใครได้บ้าง สำหรับ Covid–19?

ทายาทตามกฎหมาย หรือตามที่ผู้เอาประกันภัยระบุโดยไม่จำกัดความสัมพันธ์

10 ระยะเวลารอคอย (Waiting Period) 14 วัน นับอย่างไร?

นับจากวันที่กรมธรรม์ประกันภัยเริ่มมีผลบังคับเป็นครั้งแรก (นับวันเวลาชนวันเวลา) ตัวอย่าง ความคุ้มครองเริ่มวันที่ 12/3/2563 เวลา 22.00 น. ระยะเวลารอคอย คือ วันที่ 12/3/2563 เวลา 22.00 น. ถึง วันที่ 13/3/2563 เวลา 22.00 น. จะนับเป็น 1 วัน ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 12/3/2563 เวลา 22.00 น. ถึง วันที่ 26/3/2563 เวลา 22.00 น. เป็นระยะเวลา 14 วัน ที่บริษัทไม่จ่ายค่าทดแทน แต่หากวันที่และเวลาที่ได้รับการตรวจโควิด-19 (COVID-19 Test) ตั้งแต่วันที่ 26/3/2563 เวลา 22.01 น. เป็นตันไป โดยมีผลตรวจพบเชื้อโควิด-19 และแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรค COVID-19 จึงจะเริ่มจ่ายค่าทดแทนตามความคุ้มครองได้

11 ถ้าได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น COVID-19 ภายในระยะเวลารอคอย (waiting period) จะเคลมได้ไหม?

หากวันที่และเวลาที่ได้รับการตรวจโควิด-19 (COVID-19 Test) อยู่ในระยะเวลารอคอย โดยมีผลตรวจพบเชื้อโควิด-19 และแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรค COVID-19 จะเคลมไม่ได้

12 ถ้าไม่ได้รับความคุ้มครอง COVID-19 เนื่องจากเข้าข้อยกเว้น ระยะเวลารอคอย (waiting period) สามารถขอยกเลิกกรมธรรม์ได้หรือไม่?

หากผู้อาประกันภัยประสงค์ยกเลิกกรมธรรมสามารถบอกเลิกได้ โดยบริษัทฯ +จะคืนเบี้ยประกันภัยเต็มจำนวน

13 จากคำถามข้อนี้ (11) หากลค. ต้องการถือกธ. ต่อ สามารถทำได้หรือไม่ และ หากระยะเวลาผ่านไป ลค. ติดเชื้ออีกครั้ง สามารถใช้สิทธิ์ กธ. ได้หรือไม่

 – สามารถยกเลิกได้

 – จากคำถามนี้ ถ้าลักษณะคำถามหมายถึง ลูกค้าทำประกันภัยกับเราแล้ว  แต่ดันติด Covid  ซึ่งอยู่ในช่วง Waiting Period พอดี  และรับทราบเข้าใจเงื่อนไขว่าเคลมกับทาง  MTI ไม่ได้   เลยต้องรักษาพยาบาลไปเองจนหาย  หลังจากนั้น พอพ้น Waiting Period ไปแล้ว อาจจะ 2 เดือนหรือมากกว่านั้น ดันมาติด Covid อีก  เลยจะใช้สิทธิ์เคลมกับเราแล้วในครั้งนี้ สามารถทำได้หรือไม่? 

 – คำตอบคือสามารถเคลมใช้สิทธิ์ได้ครับ

14 กรณีการเสียชีวิตจากโรค COVID-19 บริษัทประกันภัยจ่ายให้ใคร?

บริษัทฯ จะจ่ายให้แก่ผู้รับประโยชน์ที่ระบุในตารางกรมธรรม์ หรือทายาทตามกฎหมาย (กรณีที่ไม่ระบุผู้รับประโยชน์)

15 กรณีการเสียชีวิตจากภาวะโคม่าด้วยโรค COVID-19 บริษัทประกันภัยจ่ายให้ใคร

บริษัทฯ จะจ่ายให้แก่ผู้รับประโยชน์ที่ระบุในตารางกรมธรรม์ หรือทายาทตามกฎหมาย (กรณีที่ไม่ระบุผู้รับประโยชน์)

16 กรณีภาวะโคม่าด้วยโรค COVID-19 บริษัทประกันภัยจ่ายให้ใคร?

จ่ายผู้อาประกันภัย หรือ ผู้รับประโยชน์ แล้วแต่กรณี

17 ค่าทดแทนชดเชยรายได้กรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาลด้วยโรคด้วย COVID-19 บริษัทประกันภัยจ่ายให้ใคร?

จ่ายผู้อาประกันภัย 

18 ค่ารักษาพยาบาลด้วยโรค COVID-19 บริษัทประกันภัยจ่ายให้ใคร ?

จ่ายผู้อาประกันภัย 

19 ค่าชดเชยรายได้กรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาลเริ่มคุ้มครองอย่างไร

แผน 1&3 ไม่มีความคุ้มครอง

แผน 2 

นับตั้งแต่วันแรกที่นอนโรงพยาบาลเนื่องจากผลการวินิจฉัยจากจากผลกระทบจากการฉีดวัคซีน เช่น กรมธรรม์คุ้มครองวันที่ 12/3/2563 เวลา 13.30 น. ดังนั้น แพทย์ให้นอนรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลวันที่ 27-31/3/2563 และผลตรวจวินิจฉัยเกิดจากผลกระทบจากการฉีดวัคซีน บริษัทฯ จะจ่ายค่าชดเชยรายได้ฯ 14 วัน โดยจะนับวันที 28/3/2563 เป็นวันแรก และนับถึงวันที่ 31 เป็นวันสุดท้ายที่ออกจากโรงพยาบาล

20 เอกสารในการเคลมภาวะโคม่าจากโรค COVID-19 มีอะไรบ้าง?

แผน 1 ไม่มีความคุ้มครองหวดภาวะโคม่า

แผน 2&3 ใช้เอกสารดังต่อไปนี้

• แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน กรอกข้อมูลถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์

• สำเนาบัตรประชาชน หรือใบขับขี่ หรือบัตรข้าราชการ

• ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง หรือฉบับสำเนา (รับรองสำเนาโดยโรงพยาบาล)

• ประวัติการรักษาทั้งหมด และผลตรวจแสดงเป็น COVID-19

• สำเนาบัตรประชาชน/ หนังสือเดินทาง ทะบียนบ้านของผู้รับประโยชน์

• สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล ของผู้อาประกันภัย และผู้รับประโยชน์ (ถ้ามี)

• สำเนาสมุดบัญชีธนาคารเพื่อรับค่าทดแทนที่ได้รับความคุ้มครอง

• อื่นๆ เพิ่มเติมตามความจำเป็น

21 เอกสารในการเบิกค่ารักษาพยาบาล จากโรค COVID-19 มีอะไรบ้าง?

• แบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน กรอกข้อมูลถูกต้องครบด้วนสมบูรณ์ 

• สำเนาบัตรประชาชน หรือใบขับขี่ หรือบัตรข้าราชการ

• ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง และรายการค่าใช้จ่าย 

• ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง หรือฉบับสำเนา (รับรองสำเนาโดยโรงพยาบาล)

• ประวัติการรักษาทั้งหมด และผลตรวจแสดงเป็น COVID-19

• ลำเนาสมุดบัญชีธนาคารเพื่อรับค่ทดแทนที่ได้รับความคุ้มครอง

• อื่นๆ เพิ่มเติมตามความจำเป็น

22 ผู้พิการ เช่น แขนขาด ขาขาด ตาบอด สามารถทำประกันได้หรือไม่?

ไม่สามารถรับประกันภัย

23 ภาวะแทรกซ้อนจากโรคติดเชื้อโรค COVID-19 หมายถึงอะไร?

โรคหรือการเจ็บป่วยใดๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการการวินิจฉัยของแพทย์ ว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

24 หากพบว่าติดเชื้อโรค COVID 19 และเคลมหมวดค่ารักษาพยาบาลไปแล้วและรักษาหายแล้ว หลังจากนั้น พบว่าติดเชื้อใหม่สามารถเคลมในหมวดความคุ้มครองที่เหลือได้หรือไม่?

หากพบว่าติดเชื้อหลังจากครั้งแรกที่รักษาหายแล้วสามารถเคลม ในหมวดความคุ้มครองที่เหลือได้ ตามวงเงินค่ารักษาพยาบาลที่คงเหลือ และ/หรือจำนวนวันชดเชยรายได้ฯ ที่คงเหลือรวมถึงหมวดโคม่

25 เคยเป็น Covid-19 แล้วรักษาหายขาดไปแล้วและจะมาทำประกัน Covid-19 ของบริษัทฯได้หรือไม่? และมีระยะรอคอยกี่วันหรือไม่กว่าจะทำประกันได้

ไม่สามารถรับประกันภัยได้

26 เมื่อซื้อประกันภัย COVID-19 จะได้รับกรมธรรม์ภายในกี่วัน มีบัตรประกันภัยหรือไม่ ?

หากซื้อประกันภัยผ่านช่องทางออนไลน์ จะเป็นการส่งลิงค์กรมธรรม์ประกันภัยผ่านทาง SMS

• บัตรเครดิต ระบบส่ง SMS กรมธรรม์ฯ ใน 14 วันทำการ

• QR Code ต้องกด approve ระบบส่ง SMS กรมธรรม์ฯ ใน 14 วันทำการ

• โอนเงิน ต้องกด approve ระบบส่ง SMS กรมธรรม์ฯ ใน 14 วันทำการ 

 ประกันภัยไวรัสโคโรนา 2019 จะไม่มีบัตรประกันภัย (สำรองจ่ายค่ารักษาทุกกรณี และส่งเอกสารเรียกร้องมายังฝ่ายสินไหมประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ)

27 ประกันภัย Covid-19 สามารถนำเบี้ยประกันภัยไปลดหย่อนภาษีได้หรือไม่?

สามารถนำเบี้ยประกันภัยไปลดหย่อนภาษีได้เฉพาะกรมธรรม์ที่มีหมวดความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น

28 มีโรคประจำตัวเรื้อรัง โรคร้ายแรงอยู่แล้วทำได้หรือไม่?

ไม่สามารถรับประกันภัย

โดยโรคประจำตัวเรื้อรัง โรคร้ายแรง ได้แก่

 1.  โรคหลอดเลือดหัวใจ  (Coronary Artery Disease) 

 2.  โรคหัวใจ (Heart Disease) 

 3.  โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) 

 4.  โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) 

 5.  โรคมะเร็ง (Cancer) 

 6.  โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) 

 7.  โรควัณโรคปอด (TB Lung) 

 8.  โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic Renal Failure) 

 9.  โรคตับแข็ง (Cirrhosis) 

10. โรคตับวาย (Liver Failure) 

29 มีประกัน COVID-19 อยู่แล้วกับทางบริษัทประกันภัยอื่นสามารถซื้ออีกฉบับกับทางบริษัท เมืองไทยประกันภัยได้หรือไม่?

ซื้อประกันภัยได้ 

30 กรณีเป็น COVID-19 คุ้มครองเฉพาะขณะอยู่ในประเทศไทย หรือขณะอยู่ต่างประเทศด้วย?

คุ้มครองทั่วโลก

31 ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นคนไทยและสัญชาติไทย แต่หากผู้เอาประกันภัยอยู่ต่างประเทศสามารถซื้อประกัน COVID-19 ได้หรือไม่?

ไม่สามารถซื้อประกันได้

32 สำหรับประกัน COVID-19 ภาวะโคม่า ต้องเป็นลักษณะอย่างไร ?

การเจ็บป่วยด้วยภาวะโคม่า มีองค์ประกอบ 3 อย่างทั้งหมด คือ

• อาศัยเครื่องช่วยหายใจ

•  สมองถูกทำลายถาวร มีผลทำให้ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างหนึ่งอย่างใดอย่างถาวรภายหลัง  30  วัน นับจากวันที่สลบหรือหมดความรู้สึก

•  ไม่ตอบสนองอย่างน้อย 96 ชั่วโมง เนื่องจากการวินิจฉัยของแพทย์ว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 

33 หากไม่ได้อยู่ในภาวะโคม่า แต่เสียชีวิตจากโรค Covid19 กะทันหันสามารถเคลมประกัน COVID-19 ได้หรือไม่?

ได้รับความคุ้มครองภายใต้หมวดความคุ้มครองภาวะโคม่าจากโรค COVID-19 โดยต้องมีเอกสารทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ระบุการเสียชีวิตจากโรค COVID-21

34 ทำประกันแล้วยังไม่ได้รับกรมธรรม์ หรือไม่ได้รับใบเตือนต่ออายุกรมธรรม์ ต้องทำอย่างไร

ติดต่อตัวแทน / นายหน้าที่ท่านทำประกันไว้ หรือติดต่อศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ หมายเลข 1484 แจ้งข้อมูลและสอบถามเพิ่มเติม

35 ทำไมต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนเพื่อแจ้งขอยกเลิกประกันภัย

เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนและเจตนารมณ์ของผู้เอาประกันภัย และเพื่อสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยเอง

36 หากพบว่าเป็นโรค COVID-19 เจอ จ่าย จบ แล้วนั้นกรมธรรม์สิ้นสุดความคุ้มครองหรือไม่?

ไม่มีความคุ้มครอง เจอ จ่าย จบ

37 หากตรวจพบว่าเป็นโรค COVID-19 เมื่อเคลมหมวด เจอ จ่าย จบ แล้วจะเคลมภาวะโคม่า ต่อไปได้หรือไม่?

ไม่มีความคุ้มครอง เจอ จ่าย จบ

38 ประกัน COVID-19 มีส่วนลดปีต่ออายุหรือไม่

ไม่มีส่วนลดในปีต่ออายุ

39 กรมธรรม์ประกันภัยไวรัสโคโรน่าแผน อุ่นใจ แผน One Stop ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลอย่างไร

สรุปจากสายด่วนสปสช. เมื่อวันที่ 6/5/2564

1. ผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงโรคโควิดตามประกาศของรัฐบาล ถือเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตามหลักการของสิทธิ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients)  ผู้ป่วยไม่ต้องจ่ายคชจ.ใน 72 ชม.หรือเมื่อพ้นฉุกเฉินวิกฤต  แต่สำหรับโรคโควิดเรื่องระยะเวลาการรักษาจะใช้หลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบัน (Clinical Criteria) ไม่น้อยกว่า14 วันนับจากวันตรวจหาเชื้อหรือวันที่มีอาการ อย่างใดเกิดก่อน

2. เข้าตรวจรักษาที่ไหนก็ได้ทั้งรพ.รัฐบาลหรือเอกชน รวมถึงนอกรพ.ที่มีประกันสังคม ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์ ค่าตรวจคัดกรองจนรักษาเสร็จตามข้อกำหนดของรัฐบาลจะฟรีทุกขั้นตอน รวมถึงการส่งไปรักษาต่อในรพ.สนามหรือ Hospitel ตามคำแนะนำของแพทย์

3. กรณีทีมีประกันสุขภาพส่วนตัวรวมถึงประกันโควิดที่มีค่ารักษา จะต้องใช้สิทธิประกันสุขภาพส่วนตัวรวมถึงประกันโควิดที่มีค่ารักษาก่อนจึงจะใช้สิทธิ UCEP  หากมีส่วนต่างของค่ารักษาจากการใช้กรมธรรม์ฯ ส่วนตัว  ทางรพ.จะไปเรียกเก็บจาก สปสช. (ประกันสังคม หรือกรมบัญชีกลาง หรือบัตรทอง) ตามสิทธิ UCEP ครอบคลุมรายการค่าใช้จ่ายที่ สปสช. มีการกำหนดรับผิดชอบไว้เพิ่มเติมด้วย

4. หากผู้ป่วยเลือกรับบริการ คือ ผู้ป่วยเลือกเข้ารับการรักษาที่ รพ. อื่นตามความต้องการของตนเองนอกจากที่แพทย์ให้คำแนะนำไว้  ผู้ป่วยจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายเอง

40 การเคลมในหมวดค่ารักษาพยาบาล กรณีรัฐออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมดแล้ว จะสามารถเรียกร้องสินไหมทดแทนได้อีกหรือไม่

กรณีรัฐ ออกค่าตรวจรักษาให้ทั้งหมด จะเคลมหมวดค่ารักษากับบริษัทฯ อีกไม่ได้ เนื่องจากบริษัทฯ ต้องใช้ต้นฉบับใบเสร็จรับเงินที่เป็นหลักฐานว่าผู้เอาประกันภัยได้มีการจ่ายค่ารักษาไปจริง เมื่อผู้เอาประกันภัยไม่ต้องจ่ายค่ารักษาก็จะไม่มีต้นฉบับใบเสร็จรับเงินส่งเรียกร้องค่ารักษากับบริษัทฯ  แต่หากเป็นกรณีผู้เอาประกันภัยจะใช้สิทธิการเคลมในหมวดค่ารักษากับบริษัทฯ  การพิจารณาค่าทดแทนจะเป็นไปตามเงื่อนไขการรับประกันภัยและความคุ้มครองของกรมธรรม์ฯ ประเภทนั้น

(กรณีผู้เอาประกันภัยเลือกใช้กรมธรรม์ประกันสุขภาพ หรือกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพเป็นลำดับแรก ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งความประสงค์กับโรงพยาบาล ขอใช้ค่ารักษาพยาบาลทั้งกรณี OPD หรือ IPD จากกรมธรรม์ดังกล่าวของเมืองไทยประกันภัย ซึ่งหากเป็นโรงพยาบาลในเครือข่าย ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องสำรองจ่ายค่าใช้จ่าย ตามความคุ้มครองที่ได้รับจากกรมธรรม์  แต่หากผู้เอาประกันภัยเลือกใช้กรมธรรม์ประกันภัยโรค COVID-19 ที่มีค่ารักษาพยาบาลทั้งแบบ OPD หรือ IPD นั้น ผู้เอาประกันภัยจะต้องสำรองจ่ายก่อนแล้วส่งเอกสารใบเสร็จรับเงินต้นฉบับพร้อมเอกสารอื่นๆ เพื่อขอรับสินไหมทดแทนกับบริษัทฯ ในภายหลัง)

41 ในประกันภัยแพ้วัคซีน จากสื่อที่ออกข่าวของ สปสช. ในกรณีลูกค้าแพ้วัคซีนและต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ลูกค้าต้องสำรองจ่าย ไปก่อน ใช่หรือไม่

ภายใต้กรมธรรม์โควิดที่แถมความคุ้มครองผลกระทบจากการฉีดวัคซีน หรือกรมธรรม์คุ้มครองผลกระทบจากการฉีดวัคซีน ผู้เอาประกันภัยจะต้องสำรองจ่ายไปก่อน แล้วทำเรื่องเบิกค่ารักษาคืนกับบริษัทฯ ในภายหลัง โดยกรอกแบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทนและส่งพร้อมเอกสารประกอบอื่นๆ ตามคำแนะนำในแบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน ทั้งนี้ เนื่องจากกรมธรรม์โรคโควิด และผลกระทบจากการฉีดวัคซีน  ทางฝ่ายสินไหมของบริษัทฯ จะตรวจรายละเอียดตามเงื่อนไขการรับประกันภัยเพื่อดำเนินการจ่ายสินไหมต่อไป  (กรมธรรม์ประกันสุขภาพ และกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ ให้คุ้มครองการเจ็บป่วยรวมความเสี่ยงตามเกณฑ์ PUI ของกระทรวงสาธารณสุข แต่ไม่คุ้มครองการฉีดวัคซีน และผลกระทบจากการฉีดวัคซีน รวมถึงภาวะแทรกซ้อน) อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบเพื่อไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล กรณีรักษาตัวกับโรงพยาบาลในเครือ

42 กรมธรรม์ประกันภัยไวรัสโคโรน่าแผน อุ่นใจ ที่เพิ่มความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผลกระทบจากการฉีดวัคซีน ต้องสำรองจ่ายก่อนหรือไม่

ลูกค้าจะต้องสำรองจ่ายก่อน และส่งเอกสารใบเสร็จรับเงินต้นฉบับพร้อมเอกสารอื่นๆ เพื่อขอรับสินไหมทดแทนกับบริษัทฯ ในภายหลัง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบเพื่อไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล กรณีรักษาตัวกับโรงพยาบาลในเครือ

เงื่อนไขการรับประกัน

  1. ผู้มีอายุแรกเกิด – 99 ปี (การคำนวณอายุ = ปีที่ทำประกันภัย ลบด้วยปีเกิด)
  2. ผู้ที่มีสัญชาติไทย คนต่างด้าว และชาวต่างชาติ ที่มีภูมิลำเนาและพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นหลัก (ไม่น้อยกว่า 9 เดือน)
  3. ไม่จำกัดอาชีพ
  4. ให้สิทธิ์การซื้อ ท่านละ 1 กรมธรรม์
  5. จำกัดเฉพาะวัคซีน COVID-19 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนของสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และได้รับการฉีดวัคซีนโดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเวชกรรมในประเทศไทยเท่านั้น
  6. ผู้ที่ไม่เคยมีประวัติการแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง รวมถึงการแพ้วัคซีน COVID-19
  7. ผู้เอาประกันภัยต้องทำประกันภัยล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน ก่อนการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

คุ้มครองกรณีได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภายใน 90 วันนับจากวันที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ข้อยกเว้นสำคัญ :
การประกันภัยตามความคุ้มครองนี้ ไม่คุ้มครองการจ่ายผลประโยชน์ใดๆ อันเกิดจากสาเหตุโดยตรง หรือโดยอ้อม จากการฉีดวัคซีนที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

*กรณีซื้อประกันหลังการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เข็มแรกนั้น บริษัทไม่ได้ให้การคุ้มครองผลกระทบ (แพ้) จากการฉีดวัคซีนฯ เข็มแรก แต่เพื่อคุ้มครองผลกระทบ (แพ้) จากการฉีดวัคซีนฯ ในเข็มต่อไปเท่านั้น
คำเตือน : ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจ

หมายเหตุ : รายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย